อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ประกาศแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานถนน บ้านกร่าง-พะเนินทุ่ง มีความระมัดระวัง เนื่องจากสัตว์ป่าเพ่นพานบนถนนช่วงนี้ (24 พ.ค. 2565) นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้รับคลิปจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวแคมป์บ้านกร่าง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พบเสือดำระหว่างเดินทางก่อนถึงแคมป์บ้านกร่าง 2.5 กิโลเมตร ในเวลา 07.05 ของวันที่ 22 พฤษภาคม 2565
ทั้งนี้ทางอุทยานฯได้กำชับกับนักท่องเที่ยวทุกคนให้ขับรถด้วยความระมัดระวังและใช้ความเร็วไม่เกินที่กำหนด
เพราะเป็นบ้านและแหล่งหากินของสัตว์ป่าที่สมบูรณ์ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากนักท่องเที่ยว ซึ่งเส้นทางนี้ปกติพบเสือดำและสัตว์ป่าอื่นๆ อยู่เสมอระหว่างเส้นทางขึ้นแคมป์บ้านกร่าง – พะเนินทุ่ง
ในส่วนความห่วงใยเรื่องความปลอดภัยของสัตว์ป่า ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดอยู่เสมอ แต่เนื่องจากเป็นเส้นทางท่องเที่ยว จึงฝากแจ้งเตือนเรื่องการใช้ความเร็วในการขับรถขอให้ขับด้วยความระมัดระวังและขับช้าๆเพื่อชมความงามของธรรมชาติตลอดเส้นทาง
จากที่มีข่าวว่า กรมศุลกากร ดำเนินการโทรติดต่อไปว่าผู้ติดต่อมี เอกสารตกค้าง ที่ยังไม่ได้รับ และต้องดำเนินการ ไม่ใช่ข่าวจริงแต่อย่างใด
(24 พ.ค. 2565) ตามที่มีการเผยแพร่ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ถึงประเด็นเรื่องกรมศุลกากร โทรศัพท์แจ้งประชาชนว่ามีเอกสารตกค้างที่ยังไม่ได้รับ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการเผยแพร่ในสื่อออนไลน์โดยระบุว่า มีสายโทรมาจากกรมศุลกากรว่ามีเอกสารตกค้าง ทางกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง กรมศุลกากรไม่มีนโยบายให้ใช้โทรศัพท์แจ้งประชาชน ว่ามีเอกสารตกค้างแต่อย่างใด และขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก กรมศุลกากร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.customs.go.th หรือโทร Call Center 1164 และจากกรมสรรพากร สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) หรือโทร. 1161
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง กรมศุลกากรไม่มีนโยบายให้ใช้โทรศัพท์แจ้งประชาชน ว่ามีเอกสารตกค้างแต่อย่างใด และขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ
รายได้หลังเกษียณ – เกษียณแล้วหาเงินได้จากทางไหน, มีอะไรกันบ้าง
ในวันนี้ ทาง The Thaiger จะพาไปดูกันกับประเด็นในส่วนของ รายได้หลังเกษียณ สำหรับผู้ที่ใกล้ถึงเวลา หรือเข้าสู่ช่วงเกษียณ ให้ได้ทราบว่าจะมีช่องทางไหนบ้าง
(24 พ.ค. 2565) The Thaiger จะมานำเสนอข้อมูลภายในประเด็นของ รายได้หลังเกษียณ ที่ถือว่าเป็นหัวข้อที่สำคัญสำหรับผู้ที่ใกล้เข้าสู่ช่วงวัยเกษียณอายุ เพื่อที่จะเตรียมตัวกับช่วงเวลาที่จะมาถึง และสำหรับผู้ที่เข้าสู่ช่วงวัยดังกล่าวแล้ว เพื่อที่จะได้หารายได้เพิ่มเติมภายในช่วงเวลาที่ว่านี้
ช่องทางในการสร้างรายได้หลังช่วงเวลาเกษียณอายุนั้น ก็ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ โดยตัวอย่างที่น่าสนใจก็ดังต่อไปนี้
1. การออมเงินไว้ในธนาคาร วิธีการพื้นฐานสำหรับผู้ที่เตรียมพร้อมสำหรับการเกษียณ โดยวิธีการดังกล่าวถือว่ามีความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด เพราะเป็นการฝากเงินทิ้งไว้ในบัญชีธนาคารเพื่อเก็บสะสมดอกเบี้ย – ดอกเบี้ยทบต้น และสามารถดำเนินการได้อย่างหลากหลาย แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือการจัดสรรเงินออมไว้ก่อน ที่จะดำเนินการใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อกันไม่ให้เงินออมที่วางไว้สูญหายระหว่างทาง
2. การทำประกันชีวิต เป็นอีกหนึ่งช่องทางรายได้ที่น่าสนใจ ซึ่งประกันชีวิตนั้น ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความแน่นอนในการให้ผลตอบแทนต่อปี สามารถทำการวางแผนทางการเงินได้ และให้การคุ้มครองที่ครอบคลุมไปการคุ้มครองชีวิตด้วย ทำให้การเลือกทำประกันชีวิตแบบคุ้มครองระยะยาว ถือว่าทางเลือกที่มีความปลอดภัยต่อทั้งทางการเงิน และชีวิตของเราด้วย
3. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ถือว่าเป็น Passive Income จากรัฐบาลสำหรับผู้ที่เกษียณอายุก็ว่าได้ โดยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้นถือว่าเป็นสิทธิที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในวัยเกษียณจะได้รับแบบต่อเนื่องไปจนกระทั้งเสียชีวิต แต่ทั้งนี้แล้วจะต้องไม่มีการได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น เงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ ซึ่งจำนวนเงินที่ได้รับจะแบ่งไปตามช่วงวัยดังนี้
อายุ 60 – 69 ปี รับเงิน 600 บาทต่อเดือน
อายุ 70 – 79 ปี รับเงิน 700 บาทต่อเดือน
อายุ 80 – 89 ปี รับเงิน 800 บาทต่อเดือน
อายุ 90 ปีขึ้นไป รับเงิน 1,000 บาทต่อเดือน
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป